วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หินแร่


แร่(Minerals) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ หรือ ธาตุที่เกิดโดยธรรมชาติ รวมทั้งสารประกอบอินทรีย์บางอย่าง เช่น ถ่านหินและน้ำมันด้วย ถ้าจะให้ละเอียดยิ่งขึ้นก็กลาวได้ว่า แร่มีส่วนประกอบทางเคมีซึ่งเขียนสูตรเคมีแทนได้ และมีคุณสมบัติทางเคมี ทางฟิสิกส์ และทางแสงเฉพาะตัว จะเปลี่ยนแปลงบ้างก็อยู่ในขอบเขตจำกัด ลักษณะของแร่นั้น จะเห็นว่าเป็นสารที่มีเนื้อเดียวกัน (Homogeneous Substanece) แต่ที่กล่าวว่ามีส่วนประกอบทางเคมีและเขียนสูตรทางเคมีและเขียนสูตรเคมีแทนได้นั้น อธิบายได้ง่ายๆ เช่น ที่เราเรียกตะกั่ว กาลีนานั้น ประกอบด้วยธาตุ 2 ธาตุ คือ ธาตุตะกั่ว ใช้สุญทางเคมี Pb กับธาตุกำมะกัน สัญลักษณ์ทางเคมี S เมื่ออยู่ในสภาพตะกั่วกาลีกามีสูตรเป็น PDS ซึ่งต้องนำมาถลุงไล่กำมะถันออกไปจึงจะได้โลหะตะกั่ว ดังนี้เป็นต้นแร่อื่นๆก็เช่นเดียวกัน อาจจะประกอบด้วยธาตุเพียงธาตุเดียว เช่น แร่ทองแดง (Au) เพชร (C) ฯลฯ หรือแร่อาจจะประกอบด้วยธาตุ 3 ธาตุก็มี ที่ประกอบด้วยธาตุมากกว่านี้ก็มี อันจะได้กล่าวต่อไป สำหรับคุณสมบัติทางเคมีนั้น หมายถึง การที่มีแร่ปฏิกิริยาเป็นฟองฟู่กับกรดเกลือ เป็นต้น นอกจากนั้น แร่ยังให้สีของเปลวไฟเมื่อถูกกับเปลวไฟ แต่จะเป็นสีอะไรนั้น แล้วแต่ว่าแร่นั้นจะมีธาตุอะไรประกอบอยู่ เช่น ถ้ามีแคลเซียมจะให้เปลวสีอิฐ เป็นต้น ส่วนคุณสมบัติทางฟิสิกส์ หมายถึงลักษณะต่างๆ ของแร่ เช่น รูปร่างสี รอยแตก ความแข็ง ความเหนียว น้ำหนัก ความวาว และอื่นๆ คุณสมบัติ ทางฟิสิกส์ต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์มาก เพราะสามารถนำไปตรวจสอบแร่ได้อย่างง่ายๆ
     หิน (Rock) โดยทั่วไปแล้ว หมายถึง สารแข็งที่ประกอบอยู่เป็น เปลือกโลกในลักษณะที่เป็นภูเขาสูงๆ ต่ำนั่นเองสารแข็งในโลกเรานั้น เราแยกออกอย่างกว้างๆ เป็น แร่ (Mineral) กับ หิน (Rock หรือ Stone) หิน (rock) เป็นคำใช้ในวิชาการเกี่ยวกับการเกิด คุณลักษณะ องค์ประกอบของแร่ในหิน และชนิดหินต่างๆหินส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่มากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไป เช่น แกรนิต ประกอบด้วยควอรตซ์กับเฟลด์สปาร์เป็นสำคัญ และมีแร่อื่นๆปนอีกเล็กน้อย หินที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว เช่น หินปูนประกอบด้วยแคลไซต์ เกลือหินประกอบด้วยเฮไลต์ ความที่เกิดมีเป็นบริเวณกว้างขวางในส่วนของเปลือกโลกดูเผินๆ ก็จัดเป็นหิน จะให้ละเอียดลออจนถึงลักษระเนื้อส่วนประกอบและคุณสมบัติอื่นๆ ก็จัดเป็นแร่ ไม่แต่ความสับสนดังกล่าวเท่านั้น หินบางชนิด เช่น หินภูเขาไฟชนิดที่เรียกว่า อบบซิเดียน ดูลักษณะเนื้อแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเนื้อเดียวกันคล้ายแก้ว จนเกือบจเรียกเป็นแร่ไปแล้ว แต่เมื่อตรวจวิเคราะห์หาส่วนประกอบทางเคมีแล้วก็จะทราบว่าประกอบด้วยธาตุหลายชนิด และมีส่วนประกอบเหมือนๆหินแกรนิต ส่วนหิน (stone) นั้น เป็นศัพท์หรือคำพูดไม่เกี่ยวกับทางวิชาการ
 1. แร่ประกอบหิน (Mineral rock)
   คือ หินที่มีแร่เป็นส่วนประกอบ เช่น
   หินแกรนิต ประกอบด้วย แร่ควอร์ต เฟลด์สปา และไมกา
   หินปูน ประกอบด้วยแร่แคลไซด์ และอื่นๆ  
                                            
                                                   รูปที่ 1 หินแกรนิตและหินปูน
2. แร่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Industrial mineral)
    คือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
   1. แร่โลหะ (Metallic mineral) เช่น แร่เงิน ทองแดง สังกะสี เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน และอะลูมิเนียม
   2. แร่อโลหะ (Nonmetallic mineral) เช่น แร่เฟลด์สปา แกรไฟต์ ดินขาว ใยหิน ฟอสเฟต ยิบซัม รัตนชาติ ทราย และแร่เชื้อเพลิง
         
      แร่ทองคำ              แร่เงิน                แร่เหล็ก                 ยิบซัม                แกรไฟต์
              รูปที่ 2 แร่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ
วิธีการสกัดโลหะออกจากแร่ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. Concentration
    คือ การนำสินแร่มาแยกสิ่งเจือปนไม่บริสุทธิ์ออก นั่นก็คือการทำให้แร่มีความเข้มข้นมากขึ้น นั่นเอง โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพและทางเคมีก็ได้
2. Reduction
   เป็นขั้นตอนการถลุง ทำให้โลหะออกจากแร่โดยการรีดิวซ์สารประกอบของโลหะที่อุณหภูมิสูง โลหะที่แยกออกมาจะอยู่ในลักษณะที่หลอมเหลว และในขั้นตอนการถลุงนี้จะเติมสารบางชนิดที่เรียกว่า flux เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตลงไปเพื่อรวมกับสิ่งเจือปนที่อาจเหลืออยู่ให้ตกตะกอน (Slag) ออกมา ตัวรีดิวซ์ที่นิยมใช้ คือถ่านโค้ก เพราะหาง่าย ราคาถูก
3. Electrorefining
   เป็นการทำโลหะที่ถลุงให้บริสุทธิ์ โดยกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส ทำให้โลหะบริสุทธิ์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งมีความบริสุทธิ์ประมาณ 99.6%
2. อุตสาหกรรมเซรามิกส์
    เซรามิกส์ (Ceramics) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดิน และผ่านการเผามาแล้ว เช่น เครื่องลายคราม อิฐทนไฟ กระเบื้องปูพื้น เครื่องปั้นดินเผา

หินแร่ภูเขาไฟ ในประเทศไทย

พอเอ่ยถึงหินแร่ภูเขาไฟ หลายคนคงจะงุนงงสงสัยและอาจจะมองออกไปค่อนข้างไกลตัว อาจจะมองไกลไปถึงยุโรปอเมริกา คาซัคสถาน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย ความจริงหินแร่ภูเขาไฟในบ้านเราก็พอมีอยู่บ้างพอสมควร ถึงไม่มากมายหลายร้อยลูกแต่ก็เพียงพอสำหรับนำมาทำประโยชน์ในเชิงเกษตรได้เป็นร้อยปี เพียงพอให้ลูกหลานไทยได้ใช้นำไปปรับปรุงบำรุงดินเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและช่วยเร่งการเจริญเติบโตโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์จากหินลาวา หินเถ้าและหินแก้วภูเขาไฟ ที่ผ่านความร้อนหลอมละลายจากอุณหภูมิเป็นล้านองศา หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้มีประโยชน์มากในภาคการเกษตรต้องรีบนำมาพัฒนาเผยแพร่ให้เกษตรกรไทยได้ทราบก่อนที่นักการเมืองจะนำไปถมที่สร้างถนนเสียหมด



หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้กำเนิดมาจากภูเขาไฟที่มีอายุแตกต่างกันหลายรุ่น มีทั้งที่ไม่กี่แสนปี สิบหรือยี่สิบล้านปี และมีทั้งที่เป็นร้อย เป็นพันล้านปีก็มีแตกต่างกันไปตากแต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุดก็อยู่ในช่วงกลางเก่ากลางใหม่คือจะมีทั้งแร่ธาตุและสารอาหารค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่เป็นเนื้อหินหรือแร่ดินมากเกินไป สามารถที่จะแตกตัวนำสารอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้โดยง่าย ถ้าเป็นหินแร่ภูเขาไฟใหม่ การย่อยสลายแตกตัวก็อาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าสักหน่อย หรือถ้าเป็นหินแร่ภูเขาไฟที่เก่ามากเกินไปก็จะได้เนื้อดินมากกว่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช


การเกิดภูเขาไฟส่วนใหญ่จะมีอยู่ 3 ลักษณะคือภูเขาไฟชนิดปะทุรุนแรง ภูเขาไฟชนิดปะทุเงียบและภูเขาไฟชนิดปะทุเป็นระยะ ภูเขาไฟชนิดปะทุเงียบจะค่อนข้างปลอดภัยมากที่สุด ส่วนชนิดปะทุรุนแรงและปะทุเป็นระยะนั้นมีอันตรายใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะชนิดที่ปะทุเป็นระยะๆนั้นเมื่อนึกจะปะทุขึ้นมาก็อาจจะเป็นได้ทั้งชนิดรุนแรงและเงียบก็ได้คือเป็นได้ทั้งสองแบบ ส่วนภูเขาไฟในบ้านเรานั้นถือว่าเป็นภูเขาไฟที่ดับนานหลายล้านปีมาแล้ว โดยเฉพาะแถบบุรีรัมย์นั้นค่อนข้างมากกว่าร้อยล้านปีคุณภาพค่อนข้างมีส่วนประกอบที่เป็นแร่ดินอยู่ค่อนข้างมาก ในอดีตน้ำทางภาคอีสานหายากเพราะค่อนข้างแห้งแล้งที่มีอยู่ก็ขุ่นตม เน่าเสียไม่สะอาด หินภูเขาไฟเหล่านี้ได้ช่วยให้ชาวบุรีรัมย์ได้น้ำที่สะอาดในการดำรงชีพได้ดื่มกินมาอย่างยาวนานโดยเอาหินแร่ภูเขาไฟมาตำป่นแช่รวมในแอ่งน้ำทิ้งไว้สักพักรอให้ใสแล้วนำมาดื่มท้องก็ไม่เสียมีการบอกต่อทำต่อเนื่องกันมาจนชาวบุรีรัมย์ได้ฉายาหรือคำบอกเล่าที่เป็นตำนานว่า "ชาวบุรีรัมย์ ตำน้ำกิน"



หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ
         เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ หินอัคนี (Igneous Rocks) หินตะกอน (Sedimentary Rocks) และ หินแปร (Metamorphic Rocks)
         แต่เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยได้รับการนิยมเท่าใดนัก เนื่องจากนักธรณีวิทยาพบว่ามีหลายครั้งๆ ที่หินอัคนีหรือหินแปรก็แสดงลักษณะเป็นชั้นๆเช่นกัน เช่น ชั้นลาวาของหินบะซอลต์ หรือริ้วรอยชั้นเนื่องจากการแปรสภาพของหินไนส์ และในบางครั้งหินตะกอนก็ไม่แสดงลักษณะเป็นชั้นๆก็มี
         ดังนั้นทางด้านการศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยจึงพยายามรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ใช้ชื่อ หินตะกอน' ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่า หินชั้น

          หินอัคนี คือหินที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหนืด (Magma) เมื่อหินหนืดเหล่านี้เคลื่อนที่เข้ามาใกล้ผิวโลก หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหนืดใต้ผิวโลกอย่างช้า ๆ เรียกว่า หินอัคนีบาดาล (Intrusive Rocks หรือ Plutonic Rocks) หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลว (Lava) บนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (Extrusive Rocks หรือ Volcanic Rocks) หินอัคนีที่เกิดจากการทับถมของเศษหินที่ได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อมีการเชื่อมประสานด้วยแร่ จะได้หินที่เรียกว่า หินอัคนีตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic Rocks)

          หินตะกอน คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ
        
          หินแปร คือ หินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ และ/หรือ เนื้อหิน (Texture) เดิมไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงความดันและอุณหภูมิในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง อาจมีส่วนประกอบใหม่มาเพิ่มหรือไม่ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเรียกว่า การแปรสภาพ (Metamorphism)


หิน ( rock) หมายถึง สารผสมซึ่งเป็นของแข็ง ประกอบด้วยกลุ่มของแร่ตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไป หินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก
ประโยชน์ของหิน
           ประโยชน์ของหิน มนุษย์นำหินมาใช้ประโยชน์ในงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบ และคุณสมบัติเฉพาะตัวของหินนั้นๆ ได้แก่ แร่ โครงสร้าง ความเป็นกรด ความแกร่ง และความสวยงาม เป็นต้น
        1. หินแกรนิต เป็นหินที่ความทนทานสูง จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา นอกจากนี้หินแกรนิตมีเนื้อแข็งจึงนิยมทำครก
         2. หินชนวน เป็นหินที่ความทนทานสูงเช่นกัน จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา ในสมัยโบราณใช้ทำกระดานชนวน

หินและแร่กับชีวิตประจำวัน

ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้นมีประโยชน์แก่เราทั้งสิ้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อมดังเช่น หินและแร่ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งซึ่งมีคุณค่าและมีประโยชน์มากมาย มนุษย์เราพบและนำหินและแร่มาใช้ประโยชน์กันตั้งแต่สมัยยุคหินที่มนุษย์ยังอาศัยอยู่ในถ้ำ โดยการใช้ขวานหินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์และใช้เป็นอาวุธในการป้องกันตัว ต่อมาก็รู้จักการใช้โลหะบางชนิดมาดัดแปลงเป็นอาวุธและเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วพัฒนาการใช้ประโยชน์จากหินและแร่เรื่อยมาจากยุคหินจนถึงยุคปัจจุบัน หลังจากยุคนี้ไปก็มีแนวโน้มว่าการใช้ประโยชน์จากหินและแร่จะทวีคูณมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ดังนั้นการผลิตหรือการแปรรูปหินและแร่ให้เป็นวัตถุดิบหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการก็เป็นสิ่งที่ทำกันได้สะดวกและง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก


ถ้าเราสำรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ภายในบ้านก็จะพบว่ามีผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของเครื่องใช้รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรา ที่เราได้เจอ ได้สัมผัสและได้ใช้ประโยชน์กันอยู่ทุกวัน ซึ่งสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีหินและแร่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทั้งสิ้น หลายคนคิดว่าถ้าพูดถึงเรื่องหินและแร่ จะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว และคิดว่าหินและแร่หรือแหล่งแร่นั้นจะต้องอยู่ตามเหมืองแร่หรืออยู่ตามภูเขาต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้ว เราได้สัมผัสหรือได้ใช้ประโยชน์จากหินและแร่เป็นประจำกันทุกวัน ซึ่งก่อนที่จะนำหินและแร่มาใช้ประโยชน์ได้ก็ต้องนำหินและแร่นั้นไปแปรรูป ซึ่งต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย จนหินและแร่นั้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือเป็นวัตถุดิบพร้อมใช้เพื่อป้อนเข้าโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ



ภาพ กำแพงห้องหรืออาคารที่ก่อสร้างมาจากปูนซีเมนต์

การดำเนินชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเวลาเข้านอนก็ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับหินและแร่ทั้งสิ้นเช่น ตื่นขึ้นมาตอนเช้าเราก็จะมองเห็นฝ้าเพดาน ซึ่งผลิตมาจากแร่ยิปซัม มองไปรอบ ๆ ห้องก็จะเห็นกำแพงห้องที่ก่อสร้างมาจากปูนซีเมนต์ ซึ่งผลิตมาจากหินปูนที่ประกอบด้วยแร่แคลไซต์เป็นหลัก เดินไปเข้าห้องน้ำเพื่อล้างก็จะพบอ่างล้างหน้าเซรามิก ซึ่งผลิตมาจากแร่ดิน แร่เฟลด์สปาร์และทราย ถ้ามองลงไปที่พื้นกระเบื้องห้องน้ำที่บางสถานที่ก็จะปูด้วยหินอ่อนหรือหินแกรนิต ซึ่งภายในเนื้อกระเบื้องจะมีลายสวย ๆ และสีแปลก ๆ ลายและสีที่เราเห็นในเนื้อหิน ก็คือลายและสีของแร่ประกอบหินชนิดต่างๆ นั่นเอง กำแพงห้องหรืออาคารที่ก่อสร้างมาจากปูนซีเมนต์

ภาพ ฝ้าเพดานซึ่งผลิตมาจากแร่ยิปซัม

ภาพ อ่างล้างหน้าเซรามิก ซึ่งผลิตมาจากแร่ดินแร่เฟลด์สปาร์และทราย



ภาพ แป้งฝุ่นหรือแป้งอัดแข็งซึ่งผลิตมาจากแร่ทัลก์ขณะที่เราอาบน้ำ หินถูตัวที่เราใช้บางครั้งก็เป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูพรุน ที่เรียกว่า หินพัมมิซ จะใช้ยาสีฟันเพื่อแปรงฟัน ยาสีฟันนั้นก็ผลิตมาจากแร่แคลไซต์ที่บดให้เป็นผงละเอียดผสมกับแร่ฟลูออไรต์ หรือถ้าจะซักผ้าก็จะต้องใช้ผงซักฟอก ซึ่งผงซักฟอกนั้นส่วนหนึ่งก็ผลิตมาจากแร่ซีโอไลต์ ซึ่งมีสมบัติในการดูดซับตะกอน หรือถ้าจะหวีผมหรือแต่งหน้าก็ต้องส่องกระจก กระจกนั้นก็ผลิตมาจากทรายแก้ว แร่โดโลไมต์และหินปูน หรือแป้งฝุ่นหรือแป้งอัดแข็งที่เราใช้ก็จะผลิตมาจากแร่ทัลก์ ซึ่งมีลักษณะอ่อน มีค่าความแข็งเท่ากับ 1 เท่านั้น

ถ้าเข้าช่วงเทศกาลสงกรานต์ แป้งดินสอพองที่เอาไว้ทาหน้าก็ผลิตมาจากดินมาร์ล ซึ่งก็เป็นดินที่มีต้นกำเนิดมาจากหินปูนและมีดินเหนียวปนอยู่ เตารีดที่เราใช้นั้นเป็นเตาไฟฟ้าที่ทำจากเหล็กกล้า ส่วนมากเป็นเหล็กกล้าไร้สนิม ตัวฉนวนของเตารีดที่รองระหว่างขดลวดต้านทานกับตัวเรือนที่มีลักษณะเหมือนกระดาษอัดแข็งก็ทำมาจากแร่ใยหิน นอกจากนั้นเครื่องประดับที่เราสวมใส่ก็มีอยู่มากมายหลายแบบ มีทั้งที่ทำมาจากเพชร พลอยตระกูลแร่คอรันดัม โกเมนหรือการ์เนต พลอยตระกูลควอตซ์ โอพอล เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาก็คือแร่รัตนชาตินั่นเอง


ภาพ เครื่องประดับที่ทำมาจากแร่ชนิดต่างๆ


ถ้าเราจะรับประทานอาหารเช้า ก็ต้องเข้าห้องครัวเพื่อประกอบอาหาร เครื่องครัวส่วนใหญ่ทำมาจากโลหะสแตนเลสที่ไม่เป็นสนิม ถ้วยชามเซรามิกต่างๆ ก็ทำมาจากแร่ดิน หลังจากทานอาหารเช้าเรียบร้อยแล้วบางครั้งหลายท่านต้องทานยา ยาบางชนิดก็มีแร่เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย เช่น ยาแก้ภูมิแพ้ ซึ่งจะมีส่วนผสมของสังกะสีออกไซด์ และถ้าต้องการจะตำน้ำพริก ก็ต้องใช้ครกหิน เนื้อของครกหินก็จะมีแร่เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น ซึ่งจะมีความแข็งแรง ทนทานและให้ลวดลายที่สวยงามแตกต่างกันออกไปตามชนิดของหินที่นำมาทำครกหินนั้นๆ

ภาพ เครื่องครัวส่วนใหญ่ทำมาจากโลหะสแตนเลส



ภาพ ถ้วยชามและแก้วน้ำเซรามิกที่ทำมาจากแร่ดิน


ภาพ ครกหินที่มีแร่เป็นส่วนประกอบ


จากที่กล่าวมาเป็นแค่ประโยชน์ส่วนหนึ่งของหินและแร่เท่านั้น ประโยชน์ของหินและแร่ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่ยังมีอีกมากมายหลายประการ เราจะเห็นว่าหินและแร่นั้นเป็นวัตถุดิบหลักของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ คุณค่าและประโยชน์ของหินและแร่นั้นมีอยู่มากมายมหาศาล ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากหินและแร่เราจึงต้องใช้กันอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เพราะว่าทรัพยากรหินและแร่เป็นทรัพยากรประเภทที่ใช้แล้วหมดไป และยังเป็นทรัพยากรประเภทที่ไม่สามารถทำให้เกิดใหม่ได้ในช่วงอายุของเราหรือแค่ประมาณร้อยหรือสองร้อยปี เพราะหินและแร่บางชนิดต้องอาศัยกระบวนการเกิดนับร้อย นับพัน นับล้านปี แต่ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากหินและแร่ เราใช้กันอย่างรวดเร็วและทวีคูณมากขึ้น เรื่อย ๆ แน่นอนว่าไม่นานทรัพยากรหินและแร่บนโลกของเราก็จะต้องหมดไป และต้องหาพลังงานหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ มาทดแทน ซึ่งก็จะเป็นปัญหาให้ต้องแก้ไขกันต่อไปอีกอย่างไม่รู้จบสิ้น